ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 115 คน
การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ
นักวิจัย :
ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย , เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์ , วิฐรา พึ่งพาพงศ์ , อรลักษณ์ พัฒนาประทีป , มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , วศิน เลาหวินิจ , จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 กุมภาพันธ์ 2567

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และ (2) ประมาณการภาระรายจ่ายทางสุขภาพและความสูญเสียด้านผลิตภาพ การทำงานอันเนื่องมาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ และใช้ข้อมูลการใช้บริการสาธารณสุขผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคน ถูกติดตามเป็นระยะเวลา 6 ปี 2 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 สถิติหลักที่ใช้การสร้างแบบจำลอง คือ การวิเคราะห์ การรอดชีพตัวแปรเวลาแบบไม่ต่อเนื่องและใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่องในการจำแนกประเภทข้อมูล 2 วิธี ได้แก่ 1. การถดถอยโลจิสติกส์แบบ Elastic Net และ 2. วิธี XGBoost (Extreme Gradient Boosting) เพื่อค้นหาแบบจำลองที่มีความแม่นยำสูงสุดประเมินจากพื้นที่ใต้กราฟ หรือ ค่า AUC (Area Under ROC Curve) ผลการศึกษา พบว่า วิธี XGBoost มีประสิทธิภาพในการทำนายสูงกว่าการถดถอยโลจิสติกส์แบบ Elastic Net ในทุกประเภทของแบบจำลอง โดยประสิทธิภาพการทำนายของแบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและการเกิดโรคความดันโลหิตสูงด้วยวิธี XGBoost ในกลุ่มประชากรทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่า AUC อยู่ระหว่าง 0.86-0.88 และ 0.84-0.87 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการทำนายของแบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ผลลัพธ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะแทรกซ้อนโดยมีช่วงระหว่าง 0.63-0.84 ซึ่งการทำนายเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรังมีค่า AUC ดีที่สุดอยู่ที่ 0.82-0.84 และ 0.80-0.82 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพทั้งหมด ประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเสียโอกาสของผู้ป่วยเนื่องจากต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลและค่าเสียโอกาสของผู้ดูแลของผู้ที่ไม่เป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียว ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียวและผู้ที่เป็นทั้ง 2 โรค อยู่ที่ 6,114 บาท, 25,322 บาท, 18,124 บาท และ 37,575 บาทต่อคนต่อปี ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างเดียวและโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียวแตกต่างกัน คือ ค่าเสียโอกาสของผู้ดูแล กระทรวงสาธารณสุข สามารถนำแบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไปที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความเสี่ยงแทนที่การใช้เพียงผลการตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วและการวัดความดันโลหิตเพียงอย่างเดียวและควรสร้างเกณฑ์การจัดกลุ่มผู้ป่วยตามค่าความเสี่ยงและข้อมูลที่จะใช้ในการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตาม เฉดสี เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถสื่อสารกับผู้ที่มารับการคัดกรองโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำแบบจำลองไปใช้จริงในพื้นที่


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6016

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้