ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 111 คน
การวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการขยายผลด้วยกรอบแนวคิด CFIR, RE-AIM และ NPT
นักวิจัย :
มธุรส ทิพยมงคลกุล , พัชรี วีรพันธุ์ , สุรัสวดี กลิ่นชั้น , อรพิน ยอดกลาง , ศิริพร อูปแปง , อมรรัตน์ ยาวิชัย ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 กุมภาพันธ์ 2567

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูนได้พัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย เรียกว่า “ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือยุทธศาสตร์ 4 เสา” เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในจังหวัด โดยดำเนินงานทุกอำเภอ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งยุทธศาสตร์ 4 เสา ประกอบด้วย 1) ระบบข้อมูล 2) การตรวจจับสัญญาณเสี่ยงการฆ่าตัวตาย 3) การให้ความช่วยเหลือเยียวยา และ 4) การบริหารจัดการเชิงบูรณาการหลายภาคส่วน การวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานใน 3 อำเภอตัวอย่าง เพื่อวัดผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ 4 เสา ในการป้องกันการฆ่าตัวตายและอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์การดำเนินงานยุทธศาสตร์ 4 เสา ในจังหวัดลำพูนตามกรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการ Reach, Effective, Adoption, Implementation and Maintenance (RE-AIM), Consolidated Framework for Implementation Research (CFIR) และ Normalization Process Theory (NPT) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ด้วยเครื่องมือการวิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการ RE-AIM, CFIR และ NPT วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ ตามกรอบแนวคิด RE-AIM, CFIR และ NPT วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจชุมชนด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ F-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง ร้อยละ 13 โดยร้อยละ 44 ของผู้ที่ฆ่าตัวตาย ส่งสัญญาณเสี่ยงแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับระดับความรู้และทัศนคติชุมชนต่อการฆ่าตัวตาย ผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ฆ่าตัวตายพบปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานได้แก่ คุณลักษณะของยุทธศาสตร์ 4 เสา ผู้บริหารของจังหวัดและอำเภอให้ความสำคัญ การสื่อสารทั้งภายในและระหว่างหน่วยงาน สมรรถนะของบุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง แต่อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ 4 เสายังไม่สามารถบรรลุประสิทธิผลอาจเกี่ยวข้องกับความตระหนักและทัศนคติของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการฆ่าตัวตาย ระเบียบ ข้อบังคับและพันธกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 4 เสา ต้นทุนสังคมและทรัพยากรในพื้นที่ การติดตามประเมินผลและเครือข่ายการป้องกันบำบัด แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ 4 เสา ประกอบด้วย การพัฒนาระบบข้อมูลระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายระดับตำบล พัฒนาระบบการป้องกันและบำบัดตามระดับความเสี่ยง สร้างความตระหนักและทัศนคติชุมชนต่อการฆ่าตัวตายที่ถูกต้องทั้งในชุมชนและองค์กร สร้างศักยภาพและทักษะด้านการจัดการปัญหาและการเห็นคุณค่าในตน พัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์ในนักเรียน พัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องทั้งภายในหน่วยงานด้านสาธารณสุขและระหว่างหน่วยงานนอกสาธารณสุข สร้างความเข้มแข็งของศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาสมรรถนะของผู้เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ 4 เสา การวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดการวิจัยดำเนินการที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของบริบท บุคคลและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานยุทธศาสตร์ 4 เสา ภายใต้ระบบการทำงานที่เป็นจริง ตามสภาพการณ์ของการทำงานที่เกิดขึ้น ซึ่งผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับจังหวัดลำพูนในการพัฒนาต่อยอดและสำหรับจังหวัดอื่นในการวางแผนดำเนินการการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6017

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้