ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 122 คน
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบไร้รอยต่อและครอบคลุมด้วยระบบสุขภาพระยะไกล
นักวิจัย :
ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย , สุณี เลิศสินอุดม , อัมพรพรรณ ธีรานุตร , อุบล ชาอ่อน , บัณฑิต ถิ่นคำรพ , จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ , ชลธิป พงศ์สกุล , ณิชานันทน์ ปัญญาเอก , เอกลักษณ์ ลักขณาลิขิตกุล , ธีรวัฒน์ มธุรส , พัทธนันท์ คงทอง , ณฐาภพ ชัยชญา , ธิดารัตน์ มงคลสุคนธรัก ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
7 กุมภาพันธ์ 2567

โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินการสร้างรูปแบบ (โมเดล) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดปัญหาสุขภาพในชุมชน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าสิ่งที่มีผลต่อการดูแลรักษาที่ดี คือ การได้รับการดูแลแบบเข้มงวดจากสหสาขาวิชาชีพ การอบรมให้ความรู้และกระตุ้นส่งเสริมการดูแลสุขภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้สื่อที่กระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้ได้ผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง แต่เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการรวมกลุ่มที่ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสหสาขาลงไปในชุมชนไม่สามารถกระทำต่อเนื่องได้แบบเดิม คณะดำเนินงานจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ โดยนำแนวคิดระบบสุขภาพระยะไกลมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยได้นำไปทดสอบในพื้นที่นำร่อง 8 จุด ภายใต้การดูแลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 7 แห่ง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยได้ทำการคัดกรองโรคไตเรื้อรังในประชาชน ณ พื้นที่ดังกล่าว จำนวน 751 คน จากนั้นได้แบ่งพื้นที่ 8 จุด ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยประชากรทั้ง 2 กลุ่มมีอายุ เพศ จำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไตเรื้อรังไม่ต่างกัน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการดูแลตามระบบมาตรฐานเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ มีการเพิ่มเติมการดูแลอาสาสมัครในกลุ่มทดลอง ด้วยการนำระบบสุขภาพระยะไกล (KKU CKD Telehealth platform) แอพลิเคชัน “อสม รักษ์ไต” และระบบลงทะเบียนเพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วย โดยให้ความรู้เรื่องโรคไตเป็นระยะ จากนั้นมีการประเมินด้านประสิทธิผลโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ทางคลินิกในการควบคุมโรค และด้านประสิทธิภาพโดยพิจารณาจากการเข้าถึงบริการและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ได้ผลลัพธ์ประสิทธิผลในด้านการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วนที่ชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มทดลอง กล่าวคือ ดัชนีมวลกายของอาสาสมัครลดลง 1.09 กก./ตร.ม. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีการลดลงของความดันโลหิตซิสโตลิก/ไดแอสโตลิก 7/4 มม.ปรอท และในคนที่เป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 14.95 มก./ดล. แต่ยังไม่เห็นผลในการลดความรุนแรงของโรคไต อาจเป็นเพราะระยะเวลาการดำเนินการวิจัยสั้นเพียง 8 เดือน อาจจะทำให้ยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากงานวิจัยที่ผ่านมา ควรใช้เวลาประมาณ 1-3 ปีถึงจะเห็นการลดลงของการเสื่อมของไต นอกจากนี้ผลการดำเนินงาน พบว่า สามารถลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ ลดเค็ม ลดการสูบบุหรี่ การใช้ยาชุดที่มีส่วนประกอบของยา NSAIDs (Non-Stearoidal Anitiinflammatory Drugs) และสเตียรอยด์ การใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืชในการเกษตรและการดื่มสุรา ซึ่งเมื่อประเมินผลด้านประสิทธิภาพพบว่าสามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงและมีการเข้าถึงบริการมากขึ้น (ร้อยละ 94.9) เทียบกับกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 60.4) และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบและนำไปขยายผลในระดับนโยบายของประเทศได้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6005

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้