ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 113 คน
แผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายและการประเมินสถานะด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ และระดับจังหวัด
นักวิจัย :
รัตนพร ตั้งวังวิวัฒน์ , มนัญญา ประเสริฐสุข , ชฎาภรณ์ เพียรเจริญ , ชิติ หุ่นอุตกฤษณ์ , สุวรรณา กาหลง , อังคณา เลขะกุล , วันวิสาห์ แก้วขันแข็ง ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
9 กุมภาพันธ์ 2567

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีรายงานการเกิดโรคติดต่อจากสัตว์และคน และภูมิภาคนี้ประสบปัญหาโรคระบาดจากสัตว์สู่คนหลายครั้งในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น การระบาดของไวรัสนิปาห์ (Nipah Virus) ที่มีการตรวจพบครั้งแรกในมาเลเซียในปี พ.ศ. 2541-2542 โดยมีผู้ป่วยต้องสงสัยจำนวน 265 ราย ไวรัสชนิดนี้ได้แพร่กระจายจากค้างคาว (แหล่งรังโรคในสัตว์ตามธรรมชาติ) สู่สุกรและต่อมาได้แพร่กระจายจากสุกรสู่คน รวมถึงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เริ่มมีการระบาดจากภูมิภาคเอเชีย แล้วส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประกอบกับข้อมูลจาก World Organization for Animal Health (WOAH) พบว่า โรคอุบัติใหม่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มาจากสัตว์ การนำแนวคิดด้านสุขภาพหนึ่งเดียวมาใช้ในการแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากเป็นการมองภาพในองค์รวม ทั้งภาคส่วนของสุขภาพคน สุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม สำหรับแผนปฏิบัติการที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560-2564) นั้น ได้มีการดำเนินการในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เกิดการชะงักเนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่ได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับส่วนของกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไม่ได้เต็มที่รวมถึงประสบการณ์การดำเนินงานและการจัดการผลกระทบที่แต่ละหน่วยงานได้รับ ทำให้ต้องมีการปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริง ศูนย์ประสานงานสุขภาพหนึ่งเดียวในฐานะหน่วยงานกลาง ที่มีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งภาคสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกลไกในการพัฒนางานแบบบูรณาการด้านสุขภาพหนึ่งเดียว มีกลไกการประสานงานและสามารถต่อยอดในการแบ่งปันข้อมูลด้านโรคหรือเชื้ออุบัติใหม่ที่มีศักยภาพในการเกิดโรคในอนาคต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน รวมถึงพัฒนาเครื่องมือในการประเมินสถานะระดับจังหวัดและระดับประเทศ กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำแผนงานพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเตรียมทรัพยากร และเพิ่มขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาแผนปฏิบัติการการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียวในระดับประเทศ 2) พัฒนาเครือข่ายและกลไกในการประสานงานและแบ่งปันข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเสนอต่อผู้บริหารในการเตรียมพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และ 3) พัฒนาเครื่องมือในการประเมินสถานะ การทำงานร่วมกันแบบสุขภาพหนึ่งเดียวที่ระดับจังหวัด โดยมีการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเครื่องมือประเมินสถานะการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว เช่น เครื่องมือ State Party Self-Assessment Annual Reporting Tool (SPAR) เครื่องมือ Joint External Evaluation (JEE) เครื่องมือ Performance of Veterinary Services (PVS) มาเปรียบเทียบกับเครื่องมือประเมินสถานะการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว และได้นำข้อบกพร่องมาปรับปรุงเข้าไปในเกณฑ์การประเมินเพื่อให้การประเมินครบถ้วนและครอบคลุมในด้านคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีการปรับปรุงเกณฑ์การให้คะแนนระดับสถานะสุขภาพหนึ่งเดียวให้เกิดการให้คะแนนที่ชัดเจน และไม่คลุมเครือ จากนั้นได้นำเครื่องมือประเมินสถานะหนึ่งเดียวลงไปใช้ประเมินการทำงานจริง ทำพื้นที่ต้นแบบในการประเมินได้ทราบสถานะการดำเนินงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียวของตนเองและทราบประเด็นที่ท้าทาย ที่พื้นที่ต้องไปดำเนินการต่อ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพสุขภาพหนึ่งเดียวต่อไป โดยได้มีผลผลิตเชิงประจักษ์ อาทิ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนหน่วยบูรณาการสุขภาพหนึ่งเดียวและการประเมินสถานะสุขภาพหนึ่งเดียว ระดับเขตสุขภาพและระดับจังหวัด เกณฑ์การประเมินที่นำไปใช้จริงในจังหวัดนำร่อง (จังหวัดเชียงใหม่) และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพหนึ่งเดียว


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6007

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้