ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 120 คน
การระบุสารระเหยง่ายบ่งชี้และพัฒนาเครื่องตรวจวัดภาวะทางจิตจากเหงื่อแบบพกพา สำหรับคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช : การศึกษาพหุสถาบัน
นักวิจัย :
ชฎิล กุลสิงห์ , ภัทราวลัย สิรินารา , ชาวิท ตันวีระชัยสกุล , Maes, Michael , Nuttanee Tungkijanansin , Jarmmaree Sornboot , Saran Srikam , Benjawan Thanormchayatawat , Monthichar Chenphanitsub , Sirinat Meecharoen ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
9 กุมภาพันธ์ 2567

โครงการนี้ได้พัฒนาวิธีทางเลือกสำหรับตรวจคัดกรองโรคหรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางจิต โดยเริ่มจากการทำฐานข้อมูลสารระเหยง่ายและระบุสารระเหยง่ายบ่งชี้ในเหงื่อด้วยเทคนิค Gas Chromatography-Ion Mobility Spectrometry (GC-IMS) ที่ได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ใช้สอยที่เกี่ยวข้อง มาจากบริษัท Sci Spec จำกัด ตัวอย่างเหงื่อถูกเก็บโดยการเหน็บก้านสำลีไว้ใต้รักแร้เป็นเวลา 10-15 นาที ตามด้วยการวิเคราะห์ด้วย GC-IMS อีก 10 นาที การศึกษาจะให้ความสนใจไปที่กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลบุรีรัมย์และโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นกลุ่มซึ่งมักมีภาวะเครียดจากการทำงานและการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน รวมถึงการเข้าเวรกะกลางคืนเป็นประจำ โรงพยาบาลที่ทำการศึกษาได้เปลี่ยนจากที่ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งมีความสนใจแค่โรงพยาบาลในภาคใต้เท่านั้น แต่เนื่องจากได้มีคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ขยายขอบเขตไปเป็นโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผู้วิจัยจึงได้เปลี่ยนโรงพยาบาลให้สอดคล้องกับคำแนะนำนี้ จากการศึกษาเบื้องต้นของตัวอย่างเหงื่อจากอาสาสมัคร จำนวน 120 คน และเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะทางจิตต่างๆ พบว่า สามารถใช้วิธีการตรวจเหงื่อในการคัดกรอง โรคซึมเศร้า ความเครียดและคุณภาพการนอนได้ด้วยค่าความแม่นยำ ร้อยละ 64 75 และ 82 ตามลำดับ ในช่วงเวลาที่ทำการเก็บตัวอย่างจะมีการประเมินภาวะทางสุขภาพจิตด้วยแบบสอบถามและมีจิตแพทย์ช่วยยืนยันสำหรับผู้ที่มีสภาวะความเครียดสูงและมีปัญหาสุขภาพทางจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากโครงการนี้เป็นงานวิจัยเชิงค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการสำรวจสุขภาพทางจิตในชีวิตประจำวันด้วย ทุนวิจัยที่ใช้นี้จึงได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมส่งตัวอย่างเหงื่อเข้ามาศึกษา โดยจะได้รับผลการตรวจสุขภาพทางจิตควบคู่ไปด้วย ข้อมูลการประเมินสุขภาพทางจิตตามธรรมชาติที่ได้จากอาสาสมัคร มีจำนวนผู้ที่เป็นโรคหรือภาวะสุขภาพจิตที่น่ากังวลอยู่น้อยซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในทางกลับกันจำนวนประชากรที่มีน้อยนี้ ทำให้การค้นพบสารบ่งชี้สภาวะโรคนั้นๆ ในเหงื่อ เป็นไปได้อย่างไม่น่าเชื่อถือ ทำให้งบประมาณส่วนใหญ่จากการวิเคราะห์เลือด ได้ถูกปรับไปเป็นการเพิ่มจำนวนตัวอย่างที่เก็บให้มากขึ้น วิเคราะห์สารระเหยง่ายมากขึ้น ใช้ระยะเวลาการวิจัยจนถึงช่วงสัปดาห์สุดท้ายของโครงการวิจัยซึ่งนานขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นและงบประมาณที่ถูกปรับนี้ยังถูกนำไปใช้เป็นงบของการบริหารจัดจ้างและค่าอุปกรณ์ เพื่อที่จะทำให้วิธีการที่พัฒนาขึ้นมานี้รวมถึงเครื่องตรวจแบบพกพาสามารถนำไปใช้จริงได้ทันภายในระยะเวลา 1 ปีของโครงการ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเลือดที่ถูกเก็บไว้นี้ จะถูกนำมาวิเคราะห์ในภายหลังเมื่อมีการหางบประมาณเพิ่มเติมมาได้ในอนาคต ในช่วงเวลาของโครงการนี้ ถึงแม้ว่าจะเก็บผลการสำรวจสุขภาวะทางจิตมาได้ครบถ้วน รวมถึงการเก็บข้อมูลสารระเหยง่ายของตัวอย่างเหงื่อส่วนใหญ่ที่เก็บมา ดังที่ได้แสดงในส่วนผลการทดลอง แต่ยังไม่สามารถดึงข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนที่นำมาใช้นี้ สามารถบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ โดยนำไปค้นพบสารบ่งชี้สภาวะความเครียดได้ ซึ่งนอกจากงานวิจัยที่กำลังจะส่งตีพิมพ์แล้ว โครงการนี้ยังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศ รวมถึงบทความและแหล่งข่าวทาง Internet ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ผลของงานวิจัยได้ถูกนำไปใช้ต่อยอดเป็น Sensor แบบพกพาชนิด Electronic Nose ที่สามารถนำไปคัดกรองความเครียดจากเหงื่อได้ภายใน 20 นาทีต่อตัวอย่างด้วยความแม่นยำเบื้องต้นถึงร้อยละ 100 (n=15) ได้นำ GC-IMS และ Electronic Nose ไปใช้จริงในการคัดกรองความเครียดให้กับนิสิตและบุคลากรในจุฬาลงกรณ์และพยาบาลในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยเทคนิควิธีการที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถทำได้รวดเร็ว ง่ายและกว้างขวางกว่าวิธีการปกติ อย่างไรก็ตามในส่วนของ Electronic Nose นี้ เนื่องจากงบประมาณและเวลาที่มีนั้นยังไม่เพียงพอ ทางกลุ่มวิจัยจึงได้มีการเช่าเครื่องมือมาจากบริษัท MUI Robotic นำมาเพิ่มฐานข้อมูลที่มีของเราเข้าไป เพื่อนำไปใช้จริงให้ได้ไวที่สุด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6009

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้