ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 251 คน
ความท้าทายและข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
กุลวดี อภิชาติบุตร , อรอนงค์ วิชัยคำ , อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ , เกศราภรณ์ อุดกันทา ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 กุมภาพันธ์ 2567

การระบาดเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันก่อให้เกิดความตึงเครียดต่อการบริการทางสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพจึงเป็นบุคลากรสุขภาพด่านหน้าที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรค/ความท้าทายและวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านสุขภาพของผู้รับบริการของ รพ.สต. ที่สังกัด อบจ. และ 4) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่รับบริการใน รพ.สต. ที่มีการดำเนินการถ่ายโอนให้แก่ อบจ. จำนวน 410 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัด บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 64 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการใน รพ.สต. และแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ .92 ตามลำดับ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การบริหารกำลังคนในการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) และปัญหาอุปสรรค/วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา ความชัดเจนของคำถาม ความเหมาะสมของคำถาม และความเหมาะสมในการจัดลำดับคำถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงคุณภาพและการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษา พบว่า 1. รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนตำบลไป อบจ. ไม่มีการวิเคราะห์และวางแผนกำลังคนในการรองรับการระบาดใหญ่ แต่มีการสรรหากำลังคนเพื่อปฏิบัติงานระหว่างการระบาด จัดสรรบุคลากรไปช่วยเหลือหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติงาน สื่อสารนโยบายและสั่งการการปฏิบัติหน้าที่ มอบหมายงานในการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการระบาดใหญ่ สนับสนุนบุคลากรในการเข้าร่วมการฝึกอบรม จัดสรรสถานที่และทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดและดูแลเมื่อบุคลากรติดเชื้อโรคโควิด-19 2. ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพใน รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนไป อบจ. ด้านการสรรหาและจัดสรรกำลังคน ได้แก่ 1) ขาดแคลนกำลังคน การแก้ไขปัญหา คือ การปรับบทบาทหน้าที่ช่วยเหลือกันทำงานทุกหน้าที่ 2) นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานไม่ชัดเจน แก้ไขโดยการสื่อสารพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และ 3) ไม่สามารถปฏิบัติงานประจำได้เต็มที่ แก้ไขโดยการจัดการและจัดลำดับความสำคัญของงาน ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ 1) ได้รับการอบรมอย่างไม่ทั่วถึง ขาดความรู้ในการปฏิบัติงาน แก้ไขโดยเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 2) ไม่ได้รับความร่วมมือและเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน แก้ไขโดยการจัดการเหตุการณ์โดยใช้กฎหมาย ขอความช่วยเหลือจากผู้นำหมู่บ้าน ด้านการจัดระบบและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์และการสนับสนุนในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ แก้ไขโดยการใช้งบประมาณส่วนตัวหรือผลิตเอง และ 2) ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน แก้ไขโดยการสนับสนุนช่วยเหลือให้กำลังใจกัน พูดคุยปรึกษากัน 3. ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านสุขภาพของผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการรับบริการที่ รพ.สต. โดยรวมและรายด้านในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสถานที่ รองลงมาได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านคุณภาพบริการ ด้านการอำนวยความสะดวกและด้านสนับสนุนการบริการ ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจในการรับบริการที่เกี่ยวกับการระบาดใหญ่โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รณรงค์หรือบังคับใช้หน้ากากอนามัย 100% ในการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมอย่างทั่วถึง รองลงมา คือ แจ้งสถานการณ์และมาตรการการระบาดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง กำหนดให้มีการล้างมือและวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าตลาดหรือในงานต่างๆ ที่จัดขึ้นในชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างชัดเจนและแนะนำให้ประชาชนเลื่อนหรืองดการจัดชุมนุมขนาดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคอย่างเหมาะสม ตามลำดับ 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. ด้านการวางแผนกำลังคน ได้แก่ กองสาธารณสุข อบจ. มีกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการระบาดและกำลังคนเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ ด้านการสรรหาและจัดสรรกำลังคน ได้แก่ 1) CUP Split และ รพ.สต. ระดมกำลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอสำหรับการระบาดใหญ่ 2) กองสาธารณสุข อบจ. กำหนดบทบาทหน้าที่กำลังคนด้านสุขภาพใน CUP Split และ รพ.สต. เมื่อมีการระบาดใหญ่อย่างชัดเจน 3) CUP Split และ รพ.สต. บริหารจัดการภารกิจเมื่อมีการระบาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ กองสาธารณสุข อบจ. พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการระบาดแก่กำลังคนในกองสาธารณสุข CUP Split และ รพ.สต. ทุกแห่งอย่างทั่วถึง ด้านการจัดระบบและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) กองสาธารณสุข อบจ. สนับสนุน CUP Split และ รพ.สต. ในการจัดเตรียมสถานที่ ห้องแยกโรค เตรียมยาและเวชภัณฑ์ ให้เพียงพอเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 2) CUP Split และ รพ.สต. จัดเตรียมสถานที่และคลังอุปกรณ์ฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของกำลังคนเมื่อมีการระบาดใหญ่ 3) กองสาธารณสุข อบจ. จัดระบบการดูแลและจัดสวัสดิการแก่กำลังคนในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่ 4) CUP Split และ รพ.สต. ดูแลกำลังคนในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่ 5) กองสาธารณสุข อบจ. กำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกำลังคนด้านสุขภาพในระหว่างการระบาดใหญ่ และ 6) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีแพลตฟอร์มสำหรับบันทึกข้อมูลและติดตามการระบาด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6012

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้