ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 147 คน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนวัยทำงาน
นักวิจัย :
ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์ , สุมนมาลย์ สิงหะ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 ธันวาคม 2566

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรวัยทำงาน การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการนับเป็นช่องทางสำคัญที่จะสามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีส่งเสริมให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทบทวนวรรณกรรมและรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (mixed method) ประกอบด้วยการทบทวนองค์ความรู้และสังเคราะห์ข้อเสนอ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยวิธีการ Delphi technique การทบทวนวรรณกรรมและสังเคราะห์องค์ความรู้ดำเนินการใน 5 ประเด็น คือ 1) นโยบายและมาตรการด้านกฎหมาย 2) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและสังคมศาสตร์ 3) ระบบข้อมูลและแอปพลิเคชันที่ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ 5) เปรียบเทียบรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การศึกษานี้นำเสนอรายละเอียดประเด็นที่ 1 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมี 4 กลุ่ม คือ ผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงแรงงาน นายจ้าง ลูกจ้างและผู้เชี่ยวชาญ รวม 15 คน สัมภาษณ์ 2 ครั้ง นโยบายและมาตรการด้านกฎหมายที่เป็นโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพมี 4 กลุ่ม คือ 1) ด้านหลักประกันสุขภาพ 2) ด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิต 3) ด้านการควบคุมโรค วินิจฉัยโรค และชดเชยกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากงาน และ 4) ด้านการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในที่ทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ในการปรับแก้ไขกฎหมายด้านที่ 1, 2 และ 3 ยกเว้น เรื่องการลดชั่วโมงการทำงาน การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในกฎหมายเหล่านี้ ส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ด้วยกลไกระดับกระทรวงซึ่งนับเป็นโอกาสที่จะสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ทันที ข้อเสนอแนะ การปรับแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ คือ 1) ชุดสิทธิประโยชน์ด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) การใช้สิทธิประกันสังคมที่ห้องพยาบาล 3) สวัสดิการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ 4) บทบาทของบุคลากรในห้องพยาบาลให้ครอบคลุมการให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5) บทบาทของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ให้ครอบคลุมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ 6) โรคจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานให้อยู่ในรายการกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและโรคที่ได้รับการชดเชย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5982

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้