ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 147 คน
อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย
นักวิจัย :
พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ , ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ , วรรณชนก ลิ้มจำรูญ , เบญจวรรณ อิ้งทม , ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย , ฐิติกร โตโพธิ์ไทย ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
28 ธันวาคม 2566

ที่มาและความสำคัญ: การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อมาตรการควบคุมโรค การใช้ชีวิตประจำวัน และการจัดบริการด้านสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์และทารกเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการติดโรค การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารก วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานทั่วประเทศของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 และทารกในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ทารกจำนวน 6,048 คนที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ตัวแปรตามคือ อุบัติการณ์ของการติดเชื้อโควิด-19 ของทารกแรกเกิด ตัวแปรต้น ได้แก่ อายุมารดา สัญชาติมารดา สถานะการฉีดวัคซีนของมารดา อายุครรภ์ที่ตรวจพบการติดเชื้อ อายุครรภ์ขณะคลอด ความรุนแรงของโควิด-19 ในมารดา วิธีการคลอด น้ำหนักแรกเกิดของทารก การแยกมารดาและทารก และการให้อาหารทารก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ (multivariable logistic regression) ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 6.4) ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี (adjusted odds ratio: AOR = 0.60, 95%CI: 0.43-0.81) และอายุ >=35 ปี (AOR = 0.64, 95%CI: 0.44-0.93) มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่ามารดาที่มีอายุน้อยกว่า ทารกที่มารดาได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 3.75, 95% CI: 2.16-6.51) เมื่อเทียบกับมารดาที่ได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงก่อนคลอด ทารกที่มารดามีความรุนแรงของการติดเชื้อมาก มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.67, 95% CI: 0.47-0.96) เมื่อเทียบกับมารดาที่มีความรุนแรงของการติดเชื้อน้อย ทารกที่คลอดครบกำหนดมีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.49, 95% CI: 0.29-0.84) เมื่อเทียบกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่วนทารกที่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.22, 95% CI: 0.09-0.51) เมื่อเทียบกับทารกที่ไม่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด ส่วนทารกที่กินนมผงอย่างเดียว หรือกินผสมนมผงและนมแม่ มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 4.16, 95% CI: 2.32-7.45) เมื่อเทียบทารกที่ได้ดูดนมแม่จากเต้า หรือได้รับการป้อนนมแม่ที่บีบจากเต้า สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชากรทารกแรกเกิดในประเทศไทยและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในระดับต่ำ การเข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโควิด-19 นี้น่าจะมีประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางการป้องกันและการดูแลมารดาและทารกระหว่างการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารกต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5991

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้