ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 279 คน
การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
นักวิจัย :
รัชนี คอมแพงจันทร์ , กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช , ประพนธ์ เครือเจริญ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
7 ธันวาคม 2566

การศึกษาการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตสุขภาพที่ 8 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงสำรวจ (Survey ) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) อสม. ในพื้นที่ 7 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 800 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวัดค่าการกระจาย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) อสม. ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 43.5 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 77.3 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา ร้อยละ 65.9 อาชีพทำนา ร้อยละ 62.2 เกินครึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 6,000 บาท ร้อยละ 56.3 ระยะเวลาในการเป็น อสม. มากที่สุด ระหว่าง 10-19 ปี ร้อยละ 39.0 สูงที่สุด 41 ปี ต่ำที่สุด 1 ปี เฉลี่ย 20 ปี ส่วนใหญ่รับผิดชอบหลังคาเรือนระหว่าง 10-15 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน ร้อยละ 97.7 จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยมากกว่า 300 บาทต่อเดือน ครึ่งหนึ่งเคยได้รับรางวัลหรือได้รับการเชิดชูเกียรติ ร้อยละ 50.3 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.9 ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ระดับประเทศ ร้อยละ 72.7 มีความรู้ในการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันและควบคุมโรคภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.38, SD = 0.64) ด้านการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต อสม. มีการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของ อสม. ทั้งหมดจำนวน 7 ด้าน พบว่า ด้านจิตใจ คุณค่าและความภาคภูมิใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.37, SD = 0.66) และอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสังคมและการสนับสนุนทางสังคม (x̄ = 4.19, SD = 0.34) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (x̄ = 3.92, SD = 0.59) ด้านร่างกาย (x̄ = 3.85, SD = 0.55) ด้านความก้าวหน้า (x̄ = 3.77, SD = 0.88) ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ (x̄ = 3.62, SD = 0.77) ด้านความสมดุลงานกับชีวิตส่วนตัว ระดับปานกลาง (x̄ = 3.06, SD = 0.46) มีเงินเพียงพอใช้จ่ายตามที่ท่านต้องการ (x̄ = 3.19, SD = 0.88) ข้อเสนอในการศึกษาระดับนโยบายสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านทางโทรศัพท์มือถือและมีการสนับสนุนสวัสดิการในการใช้เครือข่ายการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราคาถูก ทบทวนและเพิ่มสวัสดิการ ค่าตอบแทนและการเชิดชูเกียรติแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในรูปแบบต่างๆ ให้กับ อสม. เพื่อมีสุขภาพแข็งแรงและเป็นบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5979

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้