ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 324 คน
โทรจิต การพัฒนาชุดแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาทางไกลอิงเสียงพูดและภาษาแบบอัตโนมัติ ด้วยการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับจำแนกผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยในชุมชนภาคตะวันออก
นักวิจัย :
พีร วงศ์อุปราช , ภัทราวดี มากมี , พรชัย จูลเมตต์ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
14 ธันวาคม 2566

การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุและระบบสาธารณสุขปัจจุบันทำให้ประชาชนโดยทั่วไปอายุยืนยาวขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่แนวทางที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน คือ การคัดกรองตั้งแต่อยู่ในช่วงภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยเพื่อรักษาหรือชะลออาการของโรค โดยพิจารณาเสียงพูดและภาษา ซึ่งพบว่ามักผิดปกติก่อนอาการหรือการทำงานของสมองส่วนอื่นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาอิงเสียงพูดและภาษาและทดสอบประสิทธิภาพของชุดแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 403 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุปกติ จำนวน 252 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย จำนวน 151 คน หากจำแนกตามระยะที่ทดสอบ ระยะที่ 1 ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 300 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุปกติ จำนวน 196 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย จำนวน 104 คน สำหรับระยะที่ 2 ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน 103 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุปกติ จำนวน 56 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 6 แบบทดสอบ/ประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามความจำรำพัน แบบประเมินภาวะสมองเสื่อมของแมททิส ฉบับที่ 2 ชุดแบบทดสอบความจำของเวสเลอร์โดยใช้แบบทดสอบย่อยความจำเชิงตรรกะแบบที่ 1 และ 2 แบบประเมินภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย แบบประเมินกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน และที่ต้องใช้เครื่องมือช่วย ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 2 แบบ/เครื่อง ได้แก่ ชุดแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาอิงเสียงพูดและภาษา ประกอบไปด้วย 10 ตอนย่อย และอุปกรณ์บันทึกเสียงพูด ได้แก่ ไมโครโฟนบันทึกเสียง (สำหรับระยะที่ 1) โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ตพีซี (สำหรับระยะที่ 2) ผลการวิจัยพบว่า ชุดแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงในระดับดีจนถึงดีมาก มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ในระดับค่อนข้างน้อยจนถึงปานกลาง และมีความตรงเชิงทำนายในระดับที่ยอมรับได้ทั้ง 2 ระยะ เมื่อวิเคราะห์ด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง โดยพารามิเตอร์ภาษามีความสามารถในการจำแนกผู้สูงอายุปกติออกจากที่มีภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยดีกว่าพารามิเตอร์เสียงพูด ขณะเดียวกันผลการทดสอบในระยะที่ 1 มีประสิทธิภาพในการจำแนกมากกว่าระยะที่ 2 ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาโปรแกรมแปลผลการทดสอบแบบอัตโนมัติและใช้ฐานข้อมูลแตกต่างกันระหว่างระยะที่ 1 และ 2


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5980

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้