4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อุบัติเหตุบนถนน...คร่าชีวิตคนไทยไปกว่า 25,000 รายต่อปี

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และแหล่งทุนวิจัยอื่นมีงานวิจัยในเรื่องอุบัติเหตุบนถนนมากมาย และได้มีการวิเคราะห์สิ่งที่เป็นปัญหาที่ยังเป็นวังวนอยู่ในประเทศไทย เพราะเนื่องจากไม่ได้กำหนดความปลอดภัยทางถนนเป็นปัญหาสำคัญ แม้มีแผนหลักแห่งชาติ แต่ก็ไม่ได้ถูกนำไปใช้ปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจังและไม่ทั่วถึง ไม่มีระบบการควบคุมกำกับติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ องค์กรที่รับผิดชอบอยู่ไม่เข้มแข็ง (ศูนย์ถนน) ระบบข้อมูลแยกส่วนกัน ไม่เป็นเอกภาพและขาดความน่าเชื่อถือ ระบบการให้ใบอนุญาตขับขี่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากล งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยทางถนนยังไม่พอเพียง มาตรฐานรถและถนนที่ยังล้าสมัย และที่สำคัญสุดท้ายคือ ขาดพลังจากภาคประชาชน ที่ประชาสังคมและผู้บริโภคยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญกับความปลอดภัยทางถนน

สำหรับปัจจัยแห่งความล้มเหลวของกระบวนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร คือขาดความจริงจังในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับผู้บริหาร ขาดการวางแผน ผู้บริหารกลัวความสูญเสียคะแนนนิยม ผู้บริหารยอมรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และประชาชนยอมรับชะตากรรม และคณะกรรมการสิทธิ์ เสนอว่าคนไทยถูกละเมิดสิทธิ์ในเรื่องความปลอดภัย รัฐบาลต้องรับผิดชอบเพราะละเลยปฏิบัติหน้าที่ แต่เป็นความบกพร่องเชิงระบบ ไม่แก้ไขเชิงระบบ มีข้อมูลยืนยันตัวเลขของ ๓ แหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลไม่เหมือนกัน คือ ตำรวจ โรงพยาบาลและบริษัทประกัน เป็นข้อมูลจากขอนแก่นเก็บข้อมูล ๑ ปี (พ.ศ.๒๕๕๕) องค์การอนามัยโลกได้ตั้งข้อสังเกตตัวเลขของตำรวจมีตัวเลขน้อยกว่าของโรงพยาบาลครึ่งหนึ่ง ในทางกลับกันตำรวจควรมีตัวเลขของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ส่วนตัวเลขคนบาดเจ็บถูกรวบรวมค่อนข้างจะครบถ้วนจากโรงพยาบาล ภาพรวมของประเทศ คนไทยตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากถึง 25,000 รายต่อปี ในจำนวนนี้ ตาย ณ ที่เกิดเหตุมากถึง 2 ใน 3 อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจ ซึ่งตัวเลขก็ควรจะต้องตรงกันกับบริษัทประกันภัยฯ แต่....

ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้ความเห็นว่า มีการตั้งเป้าของรัฐบาลเพื่อลดอุบัติเหตุ ๒๐% ทุกสงกรานต์เพื่อแสดงผลงานนั้นเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ข้อมูลที่นำเสนอรัฐบาลจากพื้นที่กลับเชื่อถือไม่ได้ ตัวเลขลดลงนั้น ดูเสมือนปัญหามันลดลงจัดการได้ สื่อมวลชนจึงให้ความสนใจกับประเด็นอุบัติเหตุน้อยลง และไปสนในเรื่องอื่นแทน แต่ข้อเท็จจริง ปัญหาไม่ได้ลดลงเลยนับตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน เป็นสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการขยับตัวของกลไกต่างๆ ในระดับมหภาคนั้น "ลดลง" อย่างชัดเจน

นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องยังเห็นว่าเป็นปัญหาหลักของประเทศอยู่ จึงเปลี่ยนกลยุทธ์มาใช้เป็นการทำงานระดับรากหญ้าแทน เช่น ใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง ร่วมทำงานกับระดับหน่วยงานของตำรวจ ระดับพื้นที่เห็นเรื่องราวต่างๆ ที่ถูกร้อยเรียงในมุมวิชาการเรื่องทั้งหมดไม่สามารถฉายภาพใหญ่ของปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติของ นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ที่ระบุความสำเร็จในการสกัดเอาองค์ความรู้จากพื้นที่ (จังหวัดขอนแก่น) แปลงเข้าสู่ระบบสุขภาพที่ควรเป็นได้

โดย ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้