4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข่าว/ความเคลื่อนไหว

10.01.2025
253 Views

สวรส.-TDRI จัดรับฟังความเห็น หนุนข้อมูลประเมินรอบด้าน สู่การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และความยั่งยืนของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โดยรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นตามลำดับ จากเริ่มต้นประมาณ 48,000 ล้านบาท เป็น 217,628 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2567 และมุ่งหวังที่จะสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่คนไทย เพื่อให้ได้รับบริการด้านสุขภาพตามความจำเป็นอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และไม่มีภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งผลสำเร็จสำคัญคือการขยายความครอบคลุมและช่วยทำให้สัดส่วนของประชากรที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพลดลงจากร้อยละ 29 ในปี พ.ศ. 2544 เป็นร้อยละ 2.6 ในปี พ.ศ. 2552 รวมถึงทำให้สัดส่วนค่ารักษาพยาบาลที่ประชาชนต้องจ่ายเงินเองต่อค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดลดลง จากประมาณร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2538 เหลือไม่เกินร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2555 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นหน่วยบริหารจัดการตามนโยบายดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมางานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ UC ของไทยส่วนใหญ่มุ่งเน้นศึกษาด้านการให้บริการสุขภาพ ความครอบคลุมประชากร ภาระการคลัง และการลดอุปสรรคทางการเงินของประชาชน แต่ประเด็นเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ในการสร้างหลักประกันสุขภาพไทย รวมถึงที่ผ่านมางานวิจัยมักศึกษาถึงผลสัมฤทธิ์เชิงนโยบายและระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น กระบวนการพัฒนานโยบายและการออกแบบระบบ บริบทด้านนโยบายรัฐและการปฏิรูปอื่นของรัฐ การดำเนินนโยบาย การอภิบาลระบบ และผลกระทบของนโยบายที่มีต่อระบบสาธารณสุข เป็นต้น ขณะที่ธรรมาภิบาลในระบบการจัดการสุขภาพเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ แต่การศึกษาวิจัยในประเด็นดังกล่าวยังมีไม่มากนัก ดังนั้นเนื่องจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหลักประกันสุขภาพหลักของคนไทย จึงควรมีการประเมินถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาด้านการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนด้านการเงินการคลังในระบบสุขภาพ
26.12.2024
129 Views

สวรส. จัดประชุมคณะกรรมการ สวรส. ครั้งที่ 12/2567

23 ธ.ค. 2567 : การประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (บอร์ด สวรส.) ครั้งที่ 12/2567 โดยมี นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุม และ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรรมการเเละเลขานุการ พร้อมด้วยกรรมการจากผู้เเทนกระทรวงเเละผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ร่วมประชุมฯ โดยมีวาระการประชุมฯ และการนำเสนองานวิจัยสำคัญ เช่น การดำเนินการสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2567 , การจัดการประชุม International Migrants Day และการดำเนินงานของแผนงานสุขภาพประชากรข้ามชาติ , สวรส. กับรางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2567 "DG Awards 2024" ตลอดจนสาระสำคัญของการจัดทำแผนงานวิจัยเป้าหมายเพื่อประเทศไทยปลอดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในการนี้ นักวิจัยได้ร่วมนำเสนองานวิจัยโครงการ การพัฒนาระบบรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์และการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
20.12.2024
711 Views

สธ. เดินหน้า “วิจัยคลินิกประเทศไทย” พร้อมหนุน สวรส. แกนหลักจัดตั้ง “ทีมไทยแลนด์ : เครือข่ายศูนย์วิจัยคลินิกระดับประเทศ” ยกระดับระบบสุขภาพ สร้างความยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

“งานวิจัยคลินิก” เป็นการศึกษาวิจัยในคนโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ที่เป็นความจริงที่สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาอธิบายปรากฏการณ์ทางการแพทย์และ(หรือ)นำไปประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ ซึ่งแม้ว่าเป้าหมายของการวิจัยทางคลินิกจะมุ่งให้เกิดความรู้ใหม่ที่เป็นความจริงและนำไปประยุกต์ใช้ได้ แต่สิ่งที่ได้จากการวิจัยมักประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความรู้ที่เป็นความจริง รวมถึงความคลาดเคลื่อน ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องป้องกัน ลด และแก้ไขความคลาดเคลื่อนให้หมดไป จนถึงเหลือน้อยที่สุด โดยการวางแผนการวิจัยที่ดี ในส่วนของรูปแบบการวิจัย การเลือกประชากรศึกษา และการใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสม การประเมินผลการศึกษา รวมทั้งการใส่ Intervention ที่เหมาะสม
19.12.2024
265 Views

ประชุม: "Value-Based Healthcare: ขับเคลื่อนอนาคตสุขภาพไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม"

ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า (Value-Based Healthcare: VBHC): หนึ่งในประเด็นสำคัญของการพัฒนาระบบสุขภาพ คือการสร้างระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด การใช้งบประมาณหรือทรัพยากรจำนวนมากไม่ได้หมายความว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป ดังนั้นการสร้างความสมดุลระหว่างผลลัพธ์ทางสุขภาพและการใช้ทรัพยากรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ระบบสุขภาพในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนที่สูงและการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการวิจัย เพื่อสร้างระบบสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า (VBHC) ที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และช่วยยกระดับระบบสุขภาพไทยให้มีความยั่งยืนในอนาคตและยังเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้สอดคล้องกับแนวทาง VBHC ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพของประเทศในระยะยาว
18.12.2024
284 Views

การประชุมมอบนโยบายเครือข่ายศูนย์วิจัยคลินิกระดับประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มีการพัฒนาและจัดตั้งเครือข่ายศูนย์วิจัยคลินิกระดับประเทศ โดยการสร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการ multicenter clinical trial ซึ่งจะเป็นหลักในการทำฐานข้อมูลศูนย์วิจัยคลินิกที่ได้มาตรฐาน บริหารโครงการวิจัยทางคลินิกที่ตอบโจทย์ของประเทศ และเป็นช่องทางในการเข้าถึงยาใหม่ของอาสาสมัครโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการทำงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์วิจัยทางคลินิกระดับประเทศ จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางการแพทย์ เพิ่มรายได้ และมีบทบาทสำคัญในการเป็นแกนหลักสำหรับการวิจัยคลินิกในประเทศ เพื่อรองรับการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพด้วยมาตรฐานที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนในระดับสากล วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567 เวลา 12.00-16.30 น. ณ ห้องแมกโนเลีย 3 ชั้น 4 โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น
17.12.2024
585 Views

จาก “International Migrants Day 2024” สู่การแก้ปัญหาในพื้นที่ชายแดน กับความร่วมมือเครือข่ายทั้งใน-ระหว่างประเทศ ร่วมขับเคลื่อน “แผนสุขภาพประชากรข้ามชาติ” เพื่อการเข้าถึง พร้อมสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ กับสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมี

สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติและการย้ายถิ่นฐานของประชากรข้ามพรมแดนยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนภาวะสงครามทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ข้อมูลปี 2567 มีแรงงานต่างด้าวมากกว่า 3 ล้านคน เข้ามาทำงาน โดย 74.5% เป็นสัญชาติเมียนมา ซึ่งแรงงานข้ามชาติถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย หากแต่การเข้ามาของประชากรข้ามชาติ ทั้งกลุ่มที่เป็นแรงงานและครอบครัว ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ส่งผลให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งนี้การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพประชากรข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ยังคงต้องได้รับการพัฒนา ทั้งในมิติของการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และความมั่นคงของระบบสุขภาพโดยรวม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้