ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 18 คน
จำนวนดาวน์โหลด :23ครั้้ง
หน่วยประมวลสถานการณ์ระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี พ.ศ. 2567
นักวิจัย :
สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย , ศรวณีย์ อวนศรี , ศศิวิมล อ่อนทอง , ภัทรจิราพร สุโอสถ , ธนพร แพงศรี , ธนินทร์ พัฒนศิริ
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
8 เมษายน 2568

การถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ และรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) จัดทำข้อมูลวิชาการ แสดงสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจฯ 2) จัดทำแผนที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจฯ 3) สื่อสารข้อมูลวิชาการให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านกลไก Health System Intelligent Unit (HSIU) และ 4) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย วิธีการดำเนินการโครงการ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาวิจัย ซึ่งมี 2 กิจกรรม คือ (1) การจัดทำแผนที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจของ สอน. และ รพ.สต. ให้แก่ อบจ. และ (2) การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนบริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หลังการถ่ายโอนภารกิจฯ และ 2) กิจกรรมเพื่อสื่อสารข้อมูลวิชาการผ่านกลไก HSIU มี 4 กิจกรรม คือ การประชุมทีมมดงาน 14 ครั้ง การประชุมคณะทำงาน HSIU 2 ครั้ง การประชุมเครือข่ายผู้ปฏิบัติงาน 2 ครั้ง และการปรับปรุงข้อมูลการถ่ายโอนภารกิจใน Dashboard HSIU ให้เป็นปัจจุบัน ผลการจัดทำแผนที่งานวิจัย พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 67 ฉบับ แบ่งเป็น บทความจากฐานข้อมูล Thai Journal Online (ThaiJO) (28 บทความ) และรายงานการวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) (39 รายงาน) พบว่ากลุ่มประเด็นที่มีการศึกษามากที่สุด ได้แก่ การอภิบาลระบบ 30 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 44.8) รองลงมาคือ ระบบกำลังคนและระบบบริการสุขภาพ กลุ่มประเด็นละ 21 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 31.3) ระบบการคลังสุขภาพ 11 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 16.4) และระบบยา 8 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 11.9) ในขณะที่กลุ่มประเด็นที่มีการศึกษาน้อยที่สุดคือ ระบบข้อมูล จำนวน 6 บทความ/รายงาน (ร้อยละ 9.0) ประเด็นที่ศึกษาให้ความสำคัญกับโครงสร้าง ปัจจัยนำเข้า และรูปแบบการดำเนินงาน มากกว่าผลลัพธ์ของระบบสุขภาพ เช่น ความมั่นคงทางสุขภาพ ความเป็นธรรมทางสุขภาพ และการตอบสนองของระบบสุขภาพ เป็นต้น จากบทความ/รายงาน 67 ฉบับ ทำการศึกษาใน 55 จังหวัดที่มีการถ่ายโอน โดยมี 8 จังหวัด ที่ยังไม่มีการศึกษา ได้แก่ จันทบุรี นราธิวาส ตรัง ตาก พังงา เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน และยโสธร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบริการของ สอน. รพ.สต. และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนการถ่ายโอน พบว่า จำนวนบริการผู้ป่วยนอก (OP) และ จำนวนบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) ของ สอน. และ รพ.สต. มีแนวโน้มลดลงหลังการถ่ายโอน โดยเฉพาะในปีแรกของการถ่ายโอน โดยกลุ่ม รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ในปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2567 มีจำนวนบริการ OP ลดลงมากกว่าร้อยละ 15 และมีจำนวนบริการ PP ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 ในขณะที่จำนวนบริการ OP และ PP ของ รพช. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม ทั้งที่มี รพ.สต. ในพื้นที่ถ่ายโอนทั้งหมด ถ่ายโอนบางส่วน และไม่ถ่ายโอน อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของบริการ ซึ่งอาจมีความแตกต่างหลากหลายไปตามบริบทพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้วิเคราะห์สาเหตุของจำนวนบริการของสอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ที่ลดลงทั้งบริการผู้ป่วยนอกและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อพัฒนาระบบการบริการในอนาคต รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพระดับพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินการด้านสาธารณสุขและและผลลัพธ์ของระบบสุขภาพต่อไป และมีข้อเสนอแนะต่อแหล่งทุนวิจัยและนักวิจัย ในการมุ่งเน้นประเด็นวิจัยเกี่ยวกับผลลัพธ์ของระบบสุขภาพ โดยเฉพาะประเด็นความเป็นธรรมด้านสุขภาพ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6258

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้