ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 36 คน
จำนวนดาวน์โหลด :24ครั้้ง
การประเมินผลเชิงพัฒนานโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ในพื้นที่นําร่อง
นักวิจัย :
ปฤษฐพร กิ่งแก้ว , ยศ ตีระวัฒนานนท์ , วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย , นิธิเจน กิตติรัชกุล , วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร , ขวัญพุทธา อรุณประเสริฐ , พรอุมา ราศรี , ปภาดา ราญรอน , ศุภสุดา โพธิ์โสรีย์ , นิชาต์ มูลคำ , นุชพงศ์ จงโชติชัชวาลย์ , วิศวะ มาลากรรณ , วิลาสินี สำเนียง , ธนกร เจริญกิตติวุฒ , อานนท์ กุลธรรมานุสรณ์ , ศรวณีย์ อวนศรี , ศิริกัลยาณ์ สุจจชารี , พิสภาสินี พิศาลสินธุ์
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
8 เมษายน 2568

นโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เป็นนโยบายภาครัฐจากแผนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับระบบบริการสุขภาพให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับและทุกสังกัด และมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่สะดวก มีคุณภาพ รวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอย ลดระยะเวลาเดินทาง สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพของตนเองเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี อีกทั้งประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิ 30 บาท) สามารถเลือกรับบริการสุขภาพปฐมภูมิจากหน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและคลินิกเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินงานในลักษณะนำร่อง 3 ระยะ โดยปลายปี พ.ศ. 2567 มี 46 จังหวัดที่เริ่มดำเนินงานตามนโยบายนี้ โครงการนี้ใช้แนวคิดการประเมินเชิงพัฒนา (developmental evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อพัฒนานโยบายที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานที่เป็นนโยบายเกิดขึ้นใหม่ มีความซับซ้อนและเป็นพลวัตไม่หยุดนิ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ของนโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ในพื้นที่นำร่องและพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบายให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ โดยคณะผู้วิจัยและผู้ทำงานจะทำงานร่วมกัน (co-creation) เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาข้อแนะนำอย่างทันท่วงทีตลอดระยะเวลาการประเมิน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้เป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาชีพ ผู้ดำเนินนโยบายในพื้นที่ และนักวิชาการที่ร่วมประเมินผลนโยบาย กลไกนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดข้อมูลย้อนกลับ (feedback loop) เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินนโยบาย และหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนานโยบายในช่วงต้นของการดำเนินงาน คณะผู้วิจัยได้นำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (theory of change) มาใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือการมองเป้าหมายของนโยบายจากกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดนำร่องระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการมองภาพกว้างเพื่อคาดการณ์ผลกระทบทางเชิงบวกและเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย และใช้เป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประเมินผลด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed-methods research) ทั้งวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อตอบโจทย์เรื่องผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและระบบสาธารณสุข ปัจจัยที่ส่งเสริม/เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่อื่น ๆ และต้นทุนต่อหน่วยการบริการสำหรับเตรียมเป็นข้อมูลนำเข้าแก่ผู้กำหนดนโยบายในการพิจารณาอัตราเบิกจ่ายที่เหมาะสม


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6259

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้