ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 207 คน
จำนวนดาวน์โหลด :81ครั้้ง
การประเมินผลการให้บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นักวิจัย :
สุณี เลิศสินอุดม , ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล , อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ , ปาริชาติ ธัมมรติ , นิรัชรา ถวิลการ
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 เมษายน 2567

บทนำ : บริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยของร้านยาเป็นนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลรัฐและทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการ เริ่มมีการให้บริการตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 การประเมินผลการให้บริการและสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจึงมีความจำเป็น เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยด้วยวิธีผสมผสาน (Mixed Method) โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. การศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อประเมินผลลัพธ์ของบริการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยา 2. การศึกษาเชิงคุณภาพ (แบบ Focus Group และการสัมภาษณ์) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยแห่งความสำเร็จ 3. การศึกษาจุดคุ้มทุน (Breakeven Point) และ 4. การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการศึกษา : ผู้รับบริการตั้งแต่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวน 270,839 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.78 อายุเฉลี่ย 40.19± 22.15 ปี พบว่า ผู้รับบริการ ร้อยละ 21.08 มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้รับบริการในเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 22.26 ความครอบคลุมของจำนวนร้านยา พบว่า 1,067 ร้าน ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด 71 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 92.21 และ 309 อำเภอ/เขต คิดเป็นร้อยละ 33.30 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ผู้รับบริการเข้ารับบริการมากที่สุด ได้แก่ อาการไข้/ไอ/เจ็บคอ ร้อยละ 34.49 รองลงมาคือ ปวดข้อ/ปวดกล้ามเนื้อ และอาการผื่นผิวหนัง ร้อยละ 19.84 และร้อยละ 10.90 ตามลำดับ สำหรับผลลัพธ์ทางคลินิกภาพรวมของการให้บริการรวมทั้ง 3 ไตรมาส พบว่า ผู้รับบริการอาการทุเลาและหายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ร้อยละ 40.44 และร้อยละ 49.31 ตามลำดับ สำหรับผู้รับบริการที่อาการไม่ดีขึ้นและเภสัชกรให้คำแนะนำเพื่อปรึกษาแพทย์ พบร้อยละ 1.57 ค่าคะแนนอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยก่อนเภสัชกรให้การดูแล (คะแนนเต็ม 10) ได้ค่าคะแนน 5.69±1.96 ค่าคะแนนอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหลังเภสัชกรให้การดูแล (คะแนนเต็ม 10) ได้ค่าคะแนน 1.35±1.67 เมื่อทดสอบทางสถิติด้วย pair t-test พบว่า ผู้รับบริการมีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 เภสัชกรยังให้การดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงของผู้รับบริการ โดยมีการซักประวัติและแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 6,882 คน คิดเป็นร้อยละ 2.54 และจำนวน 28,571 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.58 พบว่า ผู้รับบริการมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านอาหาร ร้อยละ 32.96 รองลงมาคือ ไม่ออกกำลังกายและนอนไม่หลับ ร้อยละ 23.51 และ ร้อยละ 16.89 ตามลำดับ พบว่า เภสัชกรจ่ายยาจำนวนเฉลี่ย 2.25±0.30 รายการ โดยร้อยละ 35.93 จ่ายยา จำนวน 2 รายการ และรองลงมาร้อยละ 27.55 จ่ายยา จำนวน 3 รายการ ในด้านความเหมาะสมของการใช้ยาปฏิชีวนะในไข้ ไอ เจ็บคอ ท้องเสียและบาดแผล พบว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 13.88, ร้อยละ 37.35 และร้อยละ 10.27 ตามลำดับ การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ สุ่มจำนวนผู้รับบริการได้ จำนวน 1,037 ราย เป็นผู้ป่วย จำนวน 861 (ร้อยละ 83.03) ญาติผู้ป่วย จำนวน 176 (ร้อยละ 16.97) ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ความพึงพอใจในภาพรวมด้านการให้บริการของเภสัชกร อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ การวางนโยบายและการผลักดันจากสภาเภสัชกรรม การเบิกจ่ายเงิน แนวคิดของเภสัชกรผู้ให้บริการ การเป็นร้านยาคุณภาพ การประชาสัมพันธ์ ทำเลที่ตั้งของร้าน การมีเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน คุณค่าจากการจัดบริการเชิงสังคม ได้แก่ การเพิ่มคุณค่าในตัวเภสัชกรเอง การเพิ่มคุณภาพให้กับร้านยาและการเพิ่มคุณค่าให้กับวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่ยกระดับคุณภาพ ภาพลักษณ์และคุณค่าในระดับบุคคลจนกระทั่งวิชาชีพได้อย่างแท้จริง จุดคุ้มทุนของการให้บริการนี้ คือจำนวน 282 ครั้งต่อเดือน หรือคิดเป็นประมาณ 9.4 ครั้งต่อวัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ เพิ่มความครอบคลุมในด้านพื้นที่โดยเพิ่มจำนวนร้านยาการกระจายของร้านยา เพิ่มกลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย รายการยา และครอบคลุมสิทธิประกันสังคมและข้าราชการ พัฒนาระบบการส่งต่อกับหน่วยบริการอื่นๆ บทสรุป : บริการอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เป็นบริการที่ประชาชนได้รับประโยชน์ มีความพึงพอใจมากที่สุด ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ควรมีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6056

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้