ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 463 คน
จำนวนดาวน์โหลด :30ครั้้ง
การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562
นักวิจัย :
วิมล โรมา , สายชล คล้อยเอี่ยม , วรัญญา สุขวงศ์ , ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี , อัจฉรา ตันหนึ่ง , รุ่งนภา คำผาง , รักมณี บุตรชน
ปีพิมพ์ :
2562
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
4 มิถุนายน 2563

การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเขตสุขภาพและประเทศตามทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและบริบทที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงวัย 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อระบุกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง 3. สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเรื่องอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุขในประเทศ 4. สร้างองค์ความรู้บนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนและการปฏิบัติที่ถูกต้องและแม่นยำ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2562 โดยสำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย ร่วมด้วยศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ตัวอย่างของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 17,530 คน เป็นชาย 6,779 คน (ร้อยละ 38.67) และหญิง 10,751 คน (ร้อยละ 61.33) ข้อเสนอแนะจากผลการสำรวจ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการศึกษา สังคมและสุขภาพควรสร้างความตระหนักและความเข้าใจเรื่องผลกระทบของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอแก่บุคลากรในหน่วยงาน ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ทำงานด้านความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ การสำรวจฯ นี้แสดงให้เห็นว่า คนไทยร้อยละ 19.09 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและบริการสุขภาพในบริบทการบริการสุขภาพ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้ การส่งเสริมให้คนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอหรือสามารถมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพและบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวตลอดช่วงชีวิตนั้น ควรพิจารณายุทธศาสตร์ 2 ลักษณะ อันได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่มุ่งสร้างความรู้ แรงจูงใจและทักษะที่จำเป็นต่อการเข้าถึง เข้าใจ ซักถามและตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเพียงพอด้วยตนเอง โดยเฉพาะทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ และการซักถาม และยุทธศาสตร์มุ่งลดความซับซ้อนของระบบบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม โดยเฉพาะในมิติผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพและการบริการสุขภาพและออกแบบให้ระบบช่วยเกื้อหนุน อำนวยความสะดวกและเพิ่มอำนาจให้กับพลเมืองในการพึ่งตนเองให้มากที่สุดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบบริการต่างๆ ควรเป็นมิตรต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ หน่วยงานด้านการศึกษาควรฝึกทักษะการอ่านและเขียนข้อมูลความรู้สุขภาพให้แก่นักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพ โดยเฉพาะในข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต/ไลน์/เฟซบุ๊ก เนื่องจากการสำรวจฯ นี้แสดงให้เห็นว่า คนที่อ่านไม่ได้และเขียนไม่คล่องมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอมากกว่าคนที่อ่านหรือเขียนได้คล่องและการไม่ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากอินเตอร์เน็ต/ไลน์/เฟซบุ๊กมีอิทธิพลต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพมากที่สุด รองจากการไม่ได้เรียนหนังสือ หน่วยงานด้านการศึกษา สังคมและสุขภาพควรออกแบบระบบการบริการให้มีความซับซ้อนน้อยลง โดยคำนึงถึงผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ อย่างน้อยให้ผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาลงมาสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและบริการได้อย่างง่าย เนื่องจากการสำรวจฯ แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป และมีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาลงมา ควรกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในชุมชนมีบทบาทหรือเป็นสมาชิกของกลุ่มชมรมในชุมชน เนื่องจากการสำรวจฯ นี้พบว่า ผู้ที่มีบทบาทในชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าคนที่ไม่มีบทบาท ขณะที่การไม่มีบทบาทในชุมชนสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ หน่วยงานทุกระดับควรพัฒนาช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ประชาสัมพันธ์ช่องทาง อธิบายขั้นตอนการเข้าถึงข้อมูลและบริการ และกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือใกล้ชุมชนของตนเอง ควรปรับหลักสูตรและรูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคการศึกษา สังคมและสุขภาพเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอและทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยหรือสนับสนุนในกระบวนการตัดสินใจมากกว่าที่จะเป็นผู้ตัดสินใจแทน เช่น การสื่อสารด้วยภาษาที่เรียบง่าย การให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างรอบด้านและเพียงพอ การสอบทานความเข้าใจ การกระตุ้นให้ซักถามคลายความสงสัยอย่างเป็นมิตร เป็นต้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5216

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้