ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 21 คน
การสาธิตการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการภาคประชาชนเพื่อจัดการความเสี่ยงของประชาชนกลุ่มเปราะบางจังหวัดน่าน จากการตกสะสมของก๊าซกรดและปรอทข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ใน สปป.ลาว
นักวิจัย :
ธนพล เพ็ญรัตน์ , วิน ไตรวิทยานุรักษ์ , มนุพัศ โลหิตนาวี , ศรัณย์พร เกิดเกาะ , พิชชาภา วงศ์คำลือ , วรากร มณีชูเกตุ ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
2 กรกฎาคม 2568

การวิจัยนี้ศึกษาการใช้ระบบวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนเพื่อเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงจากการตกสะสมของก๊าซกรดและปรอทข้ามพรมแดนในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยเน้นการเปลี่ยนจาก "การสาธิต" สู่ "ระบบแก้ปัญหา" ที่เป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่าเครือข่ายนักวิจัยพี่เลี้ยงภาคประชาชน 28 คน ในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน สามารถเก็บข้อมูลได้ 1,210 รายการ ซึ่งนำไปวิเคราะห์ด้วยระบบการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ข้อมูล C-Site ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผลการตรวจวัดพบว่าดินในชั้นผิวหน้า (0-5 เซนติเมตร) มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 ในเกือบทุกพื้นที่ศึกษา โดยมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดโรคพืช (p < 0.01) การวิเคราะห์ทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเมื่อค่า pH ลดลง (ดินเป็นกรดมากขึ้น) มีแนวโน้มพบการเกิดโรคพืชสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคเมล็ดด่าง (r = -0.67) และโรคใบไหม้ในข้าวและข้าวโพด (r = -0.62) นอกจากนี้ยังพบการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีในปลาในช่วง 0.01-0.49 mg/kg โดยปลาครีบขนนกจากแม่น้ำน่านบริเวณอำเภอทุ่งช้างมีค่าเกินมาตรฐาน (0.49 mg/kg) ส่วนในข้าวพบการสะสมในช่วง Not Detected ถึง 0.03 mg/kg ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย (0.1 mg/kg) การศึกษาพบรูปแบบการเพิ่มขึ้นของการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีในปลาตามแนวการไหลของแม่น้ำน่าน จากต้นน้ำไปท้ายน้ำ โดยปลากินเนื้อ (carnivorous fish) มีการสะสมสูงกว่าปลากินพืช (0.09 vs. 0.04 mg/kg, p< 0.001) และปลาในแหล่งน้ำไหลมีการสะสมสูงกว่าปลาในแหล่งน้ำนิ่ง (0.09 vs. 0.05 mg/kg, p < 0.01) สำหรับข้าว พบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีสีเข้ม เช่น ข้าวคอลายดาและข้าวเข็ม มีการสะสมปรอทสูงกว่าข้าวทั่วไป และข้าวที่ปลูกในพื้นที่นาลุ่มมีการสะสมสูงกว่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่ไร่ (p < 0.05) ผลการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการตกสะสมของปรอทจากแบบจำลอง AERMOD กับการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีทั้งในปลา (r = 0.64, p < 0.01) และข้าว (r = 0.58, p < 0.05) โดยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตกสะสมของปรอทตามแผนที่มีการตรวจพบการสะสมเมทิลเมอร์คิวรีสูงกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างการตกสะสมของมลพิษข้ามพรมแดนกับการสะสมในห่วงโซ่อาหาร การวิเคราะห์สาเหตุของความเป็นกรดในดินพบปัจจัยร่วมระหว่างฝนกรดและการใช้ปุ๋ยแอมโมเนีย โดยในพื้นที่ใกล้ชายแดนได้รับอิทธิพลจากฝนกรดมากกว่าพื้นที่อื่น โครงการได้พัฒนากลไกการส่งต่อข้อมูลสู่หน่วยงานภาครัฐ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิจัยพี่เลี้ยงภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ 7 แห่ง โดยข้อมูลได้ถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบงานประจำ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและจัดการมลพิษข้ามพรมแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงได้จำกัด และสามารถใช้เป็นต้นแบบสำหรับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อื่นต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6285

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้