งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
โรคไข้ซิกาเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสที่นำโดยแมลงที่เกิดการอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ซึ่งไวรัสจะถูกส่งผ่านไปยังมนุษย์โดยผ่านการกัดของยุง ซึ่งไม่นานมานี้ไวรัสซิกาได้พบอุบัติใหม่ขึ้นในประเทศไทยและพบอีกหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคติดเชื้อดังกล่าวเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาที่เฉพาะ ดังนั้นการควบคุมการเกิดโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเพียงการควบคุมแมลงพาหะ อีกทั้งเพื่อเข้าใจวงจรการแพร่กระจายของไวรัส ยุงและคน การศึกษานี้จึงต้องการเสนอดังนี้ 1) ข้อมูลอัตราการติดเชื้อไวรัสซิกาในยุงในแต่ละฤดูกาลเพื่อทำนายการระบาดของโรค และข้อมูลไวรัสชิคุนกุนยาในยุงจากแหล่งระบาดในกรุงเทพมหานคร และ 2) พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุลของไวรัสซิกาในยุงที่พบในประเทศไทย จากการศึกษา ตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสซิกาและชิคุนกุนยาในตัวอย่างยุงที่เก็บจากแหล่งระบาด 4 จังหวัดที่เสนอไว้ด้วยวิธี hn-RT-PCR จำนวนที่น้อยมาก อย่างไรก็ตามสามารถตรวจพบไวรัสชิคุนกุนยาในแหล่งระบาดของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และได้ทำการศึกษา whole genome sequence จากตัวอย่างยุงในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสซิกา Zika-RT-LAMP (SYBR) ที่มีความจำเพาะและความไวต่อไวรัสซิกาในยุง โดยตรวจได้ความเข้มข้นต่ำสุดที่ 10-6 ffu/ml และไม่เกิดการจับกับไวรัสชนิดอื่นในกลุ่มอาร์โบไวรัส นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลโรคไข้เลือดออกเป็นข้อมูลต้นแบบในการทดสอบกับแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นได้ดี โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ซึ่งอยู่ในรูปแบบของออนโทโลยีในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจำแนกข้อมูลของอัลกอริทึมต้นไม้ตัดสินใจได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ร่วมกันในการป้องกัน ควบคุมและการทำนายการระบาดของไวรัสซิกาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้