ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 472 คน
การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส คอตีบ บาดทะยัก และไอกรน ในประชากรจังหวัดชลบุรี
นักวิจัย :
ณศมน วรรณลภากร , อภิรัต กตัญญุตานนท์ , วิชัย ธนาโสภณ , วิชาญ บุญกิติกร , ชนินันท์ สนธิไชย , ปิยดา อังศุวัชรากร , ปรางณพิชญ์ วิหารทอง , หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์ , ฤทธิเดช ยอแสง ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
31 ตุลาคม 2566

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน (Expanded Program on Immunization, EPI) ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ บี หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และโรคอื่นๆ ที่มีความสำคัญหรืออยู่ในแผนการบรรจุวัคซีนเข้าในระบบ EPI ของประเทศ ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ, โรคไวรัสตับอักเสบ ซี และโรคสุกใส ในประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบ Cross-sectional descriptive study ได้ดำเนินการที่จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยอาสาสมัครในโครงการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี อายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง อายุไม่เกิน 80 ปี โดยจะแบ่งอาสาสมัครออกเป็นกลุ่มอายุ ช่วงอายุละ 10 ปี เพื่อทำการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส คอตีบ บาดทะยักและไอกรน ผลการวิจัย : อาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 1,459 คน จากการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ เอ พบว่า ประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำและระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่า อาสาสมัครที่เกิดหลังจากมีการให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติที่ริเริ่มในปี พ.ศ. 2531 (อาสาสมัครอายุต่ำกว่า 35 ปี) มีอัตราการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ต่ำมาก (น้อยกว่าร้อยละ 1) และมีอัตราการติดเชื้อ (anti-HBc ให้ผลบวก) ต่ำกว่าร้อยละ 3 แต่มีระดับภูมิ anti-HBs ที่สูงสุดในช่วงอายุ < 5 ปีซึ่งสอดคล้องไปกับการได้รับวัคซีนในวัยทารก ในส่วนของการตรวจหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี นั้น พบเพียงร้อยละ 1 ที่ให้ผลบวกและโดยมากเป็นผู้สูงอายุ ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ในอาสาสมัคร จำนวน 657 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันมีค่าต่ำสุดที่กลุ่มอายุ 11-20 ปี เหมือนกันทั้ง 3 โรค ส่วนค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันสูงสุดของโรคหัดและคางทูม พบในประชากรสูงอายุมากกว่า 70 ปี ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันสูงสุดของโรค หัดเยอรมัน พบในประชากรเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ในประชากรที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี จำนวน 657 คน พบว่า ร้อยละ 65.4 ของประชากรมีระดับภูมิคุ้มกันเกิน 0.1 IU/mL ซึ่งถือเป็นระดับที่ป้องกันโรคได้ โดยกลุ่มอายุที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในระดับที่ป้องกันโรคได้ต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 48.9) ตามด้วยกลุ่มอายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 50.5) และกลุ่มอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 56.9) สำหรับโรคบาดทะยัก พบว่า ร้อยละ 95.1 ของประชากรมีระดับภูมิคุ้มกันเกิน 0.1 IU/mL ซึ่งถือเป็นระดับที่ป้องกันโรคได้ โดยประชากรที่มีภูมิต่ำสุด คือ ผู้ที่อายุมากกกว่า 60 ปีขึ้นไป ในทางตรงกันข้ามสำหรับภูมิคุ้มกันต่อพิษของเชื้อไอกรน (pertussis toxin) มีระดับสูงสุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสุกใสในอาสาสมัครจำนวน 950 คน พบว่า อาสาสมัครมีระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสุกใสสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเริ่มมีระดับสูงขึ้นอย่างชัดเจนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป สรุปผลการวิจัย : ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส และโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในแต่ละกลุ่มช่วงอายุแสดงให้เห็นว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ไอกรน หัด หัดเยอรมัน และคางทูม ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ในช่วงอายุที่แตกต่างกันดังแสดงในผลการวิจัย ดังนั้น เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการให้วัคซีนในระยะต่อไป การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเพียง 1 จังหวัด เพื่อเป็นการสะท้อนถึงภาพรวมของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและโรคติดเชื้อที่สำคัญและเป็นปัญหาของประเทศ ผลการศึกษานี้จะช่วยในการวางแผนการให้วัคซีนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพขึ้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5962

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้