ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 2071 คน
การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล
นักวิจัย :
เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ , เพชรลดา บริหาร , นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช , ไตรเทพ ฟองทอง , กิตติภัค เจ็งฮั้ว , บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข , อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข , วีรยุทธ์ เลิศนที ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
15 กันยายน 2566

ที่มาและความสำคัญ: ประเทศไทยมีการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมาอย่างต่อเนื่อง จากการมีนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับประเทศ (Rational Drug Use Country indicators หรือ RDUCI) เพื่อติดตามระดับความก้าวหน้าและประเมินผลในระดับประเทศ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนากรอบการพัฒนาตัวชี้วัด RDUCI และพัฒนาชุดตัวชี้วัด RDUCI ตามกรอบที่กำหนดสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ติดตามระดับความก้าวหน้าและประเมินผลในระดับประเทศ วิธีการวิจัย: การพัฒนากรอบการพัฒนาตัวชี้วัดและการพัฒนาชุดตัวชี้วัด ใช้การวิจัยด้วยการทบทวนเอกสารและการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ และการสำรวจความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศ ในด้านความตรงเชิงเนื้อหาและประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้และมีต้นแบบเครื่องมือประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการประมวลผลตัวชี้วัดโดยตรวจสอบจากการส่งข้อมูลรายงานการสั่งยาจากโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และการทดสอบการประมวลผลข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัย: ตัวชี้วัด RDU Country 24 ตัวชี้วัด ที่พัฒนาขึ้นจากหลักการนโยบายการพัฒนาประเทศสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามประเด็นสำคัญตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สถานการณ์และทิศทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศไทย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดด้านโครงสร้างระบบยาเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สถานพยาบาลมีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล มีการจัดการศึกษาต่อเนื่องด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ การมีจังหวัดผ่านเกณฑ์การพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล ด้านการสั่งยาในสถานพยาบาลประกอบด้วยตัวชี้วัดการสั่งในบัญชียาหลัก การสั่งยาด้วยชื่อสามัญทางยา ตัวชี้วัดการสั่งยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในผู้ป่วยนอก การสั่งยาที่ไม่เหมาะสมในโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก การสั่งยาจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรังที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง และการสั่งยาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยไม่จำเป็นในผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำ ด้านผลลัพธ์ต่อสุขภาพจากการสั่งยาอย่างสมเหตุผลในโรคเรื้อรังประกอบด้วยการควบคุมภาวะโรค และการเข้าโรงพยาบาลจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่หลีกเลี่ยงได้ ในด้านผลกระทบของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วยนอกต่ออัตราการติดเชื้อดื้อยา และผลกระทบด้านความเท่าเทียมด้านค่าใช้จ่ายด้านยาระหว่างกองทุนประกันสุขภาพ ตัวชี้วัด RDU Country ชุดนี้มีองค์ประกอบของตัวชี้วัดปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุขและตัวชี้วัดปัจจุบันของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ปี พ.ศ. 2565 และตัวชี้วัดอื่นๆ ที่คัดเลือกจากกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ จากการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแฟ้มรายงานมาตรฐาน 43 แฟ้มที่ส่งออกจากโรงพยาบาล พบว่า ยังมีปัญหาด้านความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลรหัสยา ด้านการทดสอบในการประมวลผลข้อมูลจากข้อมูลเปิดเผยภาครัฐด้านตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเชื้อดื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีความเป็นไปได้ในการประมวลผลเพื่อติดตามการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สรุป: ตัวชี้วัด RDU Country ชุดนี้เน้นการใช้ยาในมนุษย์และการสั่งใช้ยาในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายที่ดำเนินการเป็นหลักและมีผลเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดของประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังขาดตัวชี้วัดเรื่องการเงินการคลัง ผู้ผลิตและจำหน่ายยา และแหล่งข้อมูลด้านยา ส่วนด้านบัญชียาหลักปรากฏอยู่ในตัวชี้วัดผลผลิตด้านการสั่งยาในบัญชียาหลัก ตัวชี้วัดที่ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติม คือ ด้านความครอบคลุมของบริการด้านยาที่จำเป็น เช่น การให้คำปรึกษา การประสานรายการยา การทบทวนรายการยา ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ยาและความคุ้มค่า ในด้านความคลอบคลุมมิติการใช้ยา ควรมีการเพิ่มตัวชี้วัดและการติดตามด้านจริยธรรมการส่งเสริมการขายยาของผู้ผลิตและจำหน่ายยา การขึ้นทะเบียนและการกำกับให้มีข้อมูลยาสำหรับประชาชน การควบคุมการกระจายยาในชุมชน การใช้ยาและความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชนด้วยตนเองและการใช้ยาในภาคปศุสัตว์และเกษตรกรรม การพัฒนาตัวชี้วัด RDU Country ในระยะต่อไปจำเป็นต้องทดลองเก็บข้อมูลและกำหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสม และกำหนดแนวทางในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5922

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้