ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 639 คน
จำนวนดาวน์โหลด :26ครั้้ง
การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
นักวิจัย :
ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา , โกเมนทร์ ทิวทอง , อนุวัตร แก้วเชียงหวาง , ทองดี มุ่งดี , บัณฑิต ตั้งเจริญดี , ภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์
ปีพิมพ์ :
2565
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
18 พฤษภาคม 2566

การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 6 แห่ง ที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขนาดเล็กที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดบริการสุขภาพ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิและการปกครองท้องถิ่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสำรวจความคิดเห็นผู้แทนบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีศักยภาพและทุนตั้งต้นในระดับที่สูงกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และสามารถบริหารระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยพิจารณาจากทุนตั้งต้นทางการเมืองที่ผู้บริหารในจังหวัดปราจีนบุรี มี “ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership)” ในขณะที่ผู้บริหารใน จังหวัดสุพรรณบุรีมี “ภาวะผู้นำคู่ขนาน (Paralleled Leadership)” นอกจากนี้ สัมพันธภาพระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดปราจีนบุรี มีความเข้มแข็งมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดก่อนการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 2 แห่ง ตามกรอบแนวคิด “กรอบแนวคิด “6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks)” ที่ผสมผสานกับกรอบแนวคิด “10 องค์ประกอบของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีสมรรถนะสูง (10 Building Blocks of a High-performing Primary Care System)” พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีได้เตรียมความพร้อมมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านรูปแบบการบริการ กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ระบบข้อมูลสารสนเทศ การเงินและภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ คณะวิจัยใช้ข้อมูลผลการศึกษาจัดทำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิซึ่งประกอบด้วยรูปแบบหน่วยบริหารระบบสุขภาพปฐมภูมิของกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดและระบบสุขภาพปฐมภูมิในระดับพื้นที่หรือระดับอำเภอ โดยคณะวิจัยได้จัดทำทางเลือกระบบสุขภาพปฐมภูมิไว้ 3 รูปแบบ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ งานวิจัยยังมีข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่ต้องการนำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีไปประยุกต์ใช้ และข้อเสนอสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5871

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้