Teaser | รายการคนค้นฅน | ห้องเรียนชีวิต อสม. | 8 พ.ย.2563

"ห้องเรียนชีวิต อสม."
ผลผลิตจากงานวิจัย “พัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน” (งานวิจัย สวรส. ปี 2560) ซึ่งผลการดำเนินงานทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของ อสม. และขยายผลสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลในชุมชน โดยผลของการพัฒนาเกิดขึ้นทั้งในระดับความรู้ของ อสม. ผู้อบรม ศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความมั่นใจในการทำหน้าที่ และความเชื่อมั่นของผู้ป่วย/ครอบครัว/ชุมชนต่อ อสม. ที่เพิ่มขึ้นแตกต่างไปจากเดิม จนพัฒนาไปถึงความพึงพอใจในการทำงาน ตลอดจนความรักและผูกพันของชุมชนที่มีต่อ อสม.
โดยประเด็นสำคัญของการพัฒนาศักยภาพ อสม. แตกต่างจากหลักสูตรการเรียนการสอนทั่วไป นอกเหนือจากการอบรมด้วยทฤษฎีและการปฏิบัติในห้องเรียน คือ การฝึกด้วยการลงพื้นที่ทำงานจริงร่วมกันระหว่างนักเรียน อสม. กับอาจารย์ผู้สอน และการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นที่ปรึกษาตลอดเวลาของการทำงาน ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานครั้งนี้
สิ่งที่พบและน่าสนใจ คือ การทำงานของอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนที่มีจิตอาสา ที่ทุ่มเทและใส่ใจบริบทของปัญหาจริงในการทำงาน นำมาสู่การพัฒนาวิธีการเรียนสอนที่เหมาะสมและถือเป็นวิธีคิดและวิธีเรียนที่ก้าวหน้ามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ตลอดจนการปฏิบัติทำให้เห็นเป็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจนจาก CASE จริงของ อสม. ที่แต่ละคนรับดูแลอยู่ สำหรับผลผลิตของการพัฒนา คือ นักเรียน อสม. ที่ผ่านอบรม มีศักยภาพและความมั่นใจมากขึ้น สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานด้วยหัวใจของจิตอาสาอย่างแท้จริง
ร่วมติดตาม อีกหนึ่งผลงาน การนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ พบกับ คนเดินเรื่องสำคัญ "พี่หนับ" วรัญญา จิตรบรรทัด นักวิจัยเครือข่าย สวรส. จากบทบาทครูพยาบาล สู่คนทำงานวิจัยและปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ที่ทำหน้าที่ส่งต่อเป้าหมายความตั้งใจของ สวรส. สู่ปฏิบัติการจริงในชุมชน โดยใช้ใจในการทำงาน เริ่มจากการเห็นโอกาสของการช่วยเหลือและทำให้โอกาสนั้นขยายผลช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงได้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนสำคัญในพื้นที่ คือ "อสม" ที่มีจิตอาสาพร้อมทำงานแต่ยังขาดความรู้ความมั่นใจ ร่วมปฏิบัติการใจในครั้งนี้ พี่หนับเริ่มดำเนินงาน "พัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน" ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาหรือเป็น "ห้องเรียนแนวใหม่ที่ไร้ขอบเขต" ซึ่งนอกจากการให้ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎี และจัดกระบวนการอบรมพัฒนาแล้ว สิ่งสำคัญที่แตกต่างกับหลักสูตรทั่วไป คือ "ห้องเรียนห้องนี้เรียนในพื้นที่ – บนชีวิตจริง ความอยู่รอดจริงของผู้คน" โดยครูและนักเรียน อสม.จะร่วมลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงร่วมกัน และครูจะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาการทำงานกับผู้ป่วย ผลของงาน ทำให้เกิด อสม. ที่มีความรู้ ความมั่นใจ และความรักในงานที่เพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 30 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ โดย อสม. 1 คน ได้ถูกส่งต่อลงไปในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ได้อีก 5 คน ซึ่งทำให้ผลลัพธ์นี้ขยายไปได้รวมถึง 150 คนในชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้ มันมากกว่าความรู้จากการอบรม ความมั่นใจของ อสม. |
PROMOTE ห้องเรียนชีวิต อสม. | รายการฅนค้นฅน | 8 พ.ย.2563
แสดงความคิดเห็น