4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

จัดการความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม “พลังความรู้ สู่การเขยื้อนภูเขา”

อีกไม่กี่วันก็จะถึงงานประชุมวิชาการประจำปีของ “สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข” หรือ “สวรส.” ที่หลายคนตั้งตารอ

    อีกไม่กี่วันก็จะถึงงานประชุมวิชาการประจำปีของ “สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข” หรือ “สวรส.” ที่หลายคนตั้งตารอ เดือนนี้ไม่เพียงแต่จะได้ต้อนรับการเคลื่อนของพระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ อันเป็นมหาสงกรานต์ที่หลายคนชวนกันออกนอกบ้านไปสาดน้ำ หลังจากรับความชุ่มชื่นกันมา สวรส. ขอชวนผู้ที่สนใจออกนอกกรอบไปสาดความคิด ร่วมขบคิด พร้อมตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบร่วมกันในงาน...


    “การประชุมวิชาการ การวิจัยระบบสุขภาพ ประจำปี 2556” ที่มีประเด็นหลัก (theme) ว่า “จัดการความรู้ สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” ในระหว่างวันที่ 25-26 เมษายนนี้ ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ     เรื่องระบบสุขภาพที่เป็นธรรมนอกเหนือจากเรื่องของระบบหลักประกันของ 3 กองทุนสุขภาพแล้ว ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่ยังเป็นปัญหาย่อยๆในความเหลื่อมล้ำที่ยังหาทางออกกัน อยู่ ความเป็นธรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาซึ่งสุขภาวะ ดังนั้นหัวข้อนี้จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ความรู้...องค์ประกอบหนึ่งในการเขยื้อนภูเขา

          ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ต้นตำรับหลักการ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” แนะนำว่า การจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากต้องดำเนินการ 3 เรื่องไปพร้อม ๆ กัน คือ การ สร้างความรู้ การนำความรู้ไปเคลื่อนไหวสังคม ขณะเดียวกันเชื่อมโยงความรู้และการเคลื่อนไหวสังคมไปกับการดำเนินการทางการ เมืองเพื่อเคลื่อนในเชิงระบบเชิงกติกาสังคม (กฎหมาย) หรือเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าพลังที่ต้องใช้มีทั้งอำนาจรัฐ อำนาจสังคมและอำนาจของความรู้

          3 ปีก่อน เมื่อมีการตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย อาจารย์ประเวศนำเรื่องนี้มาพูดอีกครั้งกับสังคมไทย และให้ความเห็นว่า “สังคม ไทยขณะนี้ขาดเรื่ององค์ความรู้ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ทั้งๆที่กลไกต่างๆมีมากมาย แต่ไม่ทำงานเพราะขาดความรู้ เรามีทั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง สภาองค์กรชุมชน ในอนาคตจะมีสภาประชาชน แต่ก็วนกลับมาที่เดิมเพราะขาดความรู้เชิงนโยบาย สังคมไทยรู้ว่าต้องการทำอะไร เช่น แก้ไขปัญหาความยากจน สิ่งแวดล้อม ต้องการระบบราชการที่ดีกว่านี้ เป็นต้น แต่คำถามคือ ทำอย่างไร” หลายท่านคงเห็นด้วยกับความคิดที่ว่า มุมบนสุดของสามเหลี่ยมสำคัญที่สุดและเป็นพลังหลัก แต่ดำเนินการยากที่สุด นั่นคือ “การสร้างความรู้”

          ประเด็นเรื่อง การสร้างความรู้ ยังสอดรับกับปัจจุบันของโลกที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ยุคนี้เป็นยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Society and Economy) แข่งขันกันด้วยอำนาจของความรู้ ไม่ใช่แข่งขันกันด้วยการสั่งสมปัจจัย (Factors Accumulation) เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทุน หรือแรงงานเป็นปัจจัยหลัก เหมือนสมัยก่อนเพราะปัจจัยเหล่านี้อยู่ในสภาพ “ใช้แล้วหมด” แต่ความรู้เป็นปัจจัยที่ “ยิ่งใช้ยิ่งงอกงาม” การพัฒนาสังคมบนฐานความรู้จะยั่งยืน ทุกสังคมจึงต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาสร้างนวัตกรรม มาใช้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม การสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในระดับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift หรือ Mindset Change) ของทั้งสังคม

จัดการความรู้ เชื่อม 3 พลังเขยื้อนภูเขา
          ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้บุกเบิกงานด้านการจัดการความรู้ในประเทศไทย ที่ปรึกษาพิเศษของ สกว. และอดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) กล่าวว่า “การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสังคมในยุคสังคมเศรษฐกิจความรู้ ประเทศหรือองค์การที่มีความสามารถในการจัดการความรู้จะมีความสามารถในการ แข่งขันสูง มีความสามารถในการปรับตัว นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างและการใช้ความรู้ของสังคมไทยในปัจจุบันนั้น หากมองในมุมหนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความรู้อยู่มาก เพียงแต่ไม่รู้วิธีการนำความรู้ไปใช้ และอาจจะเคยชินกับการนำความรู้ทฤษฎีที่เป็นความรู้มือสองมาใช้ โดยไม่ได้ประยุกต์หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการนำมาใช้ให้เหมาะสมนั้นต้องผ่านการปฏิบัติหรือการลงมือทำแล้วเกิดการ เรียนรู้ นั่นจึงเป็นความรู้มือหนึ่ง หรือความรู้ที่สร้างขึ้นใช้เองและใช้ได้จริง”

          กว่า 20 ปี ของ สวรส. ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการงานวิจัย สร้างความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านนโยบายและเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพสู่ความ เป็นธรรมที่ยั่งยืนนั้น ได้สนับสนุนให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นความรู้มือหนึ่งบนฐานบริบทสังคมไทยมาก มาย และพยายามผลักดันให้ความรู้นั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคม การขับเคลื่อนความรู้ที่ สวรส. ได้สร้างขึ้นและพร้อมที่จะนำมาแลกเปลี่ยนในงานประชุมวิชาการ สวรส. ในปีนี้มีประเด็นที่น่าติดตามมากมายหลายประเด็น อาทิ

          “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง” ประมวลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพของต่างประเทศและของ ประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพ

          “กลไก และมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพ” ความพิเศษของเวทีประชุมวิชาการในปีนี้คือ มิได้เพียงนำเสนอข้อมูลสู่ผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมให้ข้อคิดเห็นด้วย

          “ผลการประเมินนโยบายการ ลดความเหลื่อมล้ำในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของ ๓ กองทุนประกันสุขภาพ” นำเสนอผลประเมินด้านประสิทธิผลของนโยบายบริการฉุกเฉิน สถานการณ์ด้านคุณภาพการจัดบริการของ รพ.ประเภทต่างๆ ประเมินการเข้าถึงบริการ ประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพและภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยโรคหลอด เลือดในสมอง โรคไตวายเรื้อรัง

         หัวข้อที่น่าสนใจยังมีอีก เช่น เวทีย่อยเรื่อง “ก้าวใหม่ของประเทศไทย...ประชาชนเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า” เวทีนี้ต้องไปติดตามว่า เข้าถึงยาอะไรบ้าง “ความไม่เป็นธรรมระหว่างคนเมืองกับคนชนบทและผู้ด้อยโอกาส” ทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างสภาพเมืองกับสภาพชนบทลง ได้บ้าง อีกหัวข้อหนึ่งคือ “ความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ” เราเคยได้ยินแต่ผู้รับบริการไม่ได้รับความเป็นธรรม คราวนี้มาลองฟังผู้ให้บริการกันบ้าง เป็นต้น

         ในวันที่สองของงานนำเสนอผล งานการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในหัวข้อ“กลไกการอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” ที่มาของการศึกษาเรื่องนี้เริ่มมาจากระบบประกันสุขภาพไทยมี 3 กองทุน ที่มีการบริหารจัดการในลักษณะแยกส่วนกัน ทำให้การบริหารมีต้นทุนสูงเกินควร เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น เวทีประเด็นนี้เข้มข้นขึ้นเมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเข้ามาร่วมแสดงความ เห็นกันอย่างลงลึก

ร่วมแลกเปลี่ยน ขับเคลื่อนไปด้วยกัน
การ ลงทุน จัดประชุมวิชาการลักษณะนี้ คงมิได้คาดหวังเพียงการเผยแพร่ข้อมูล/องค์ความรู้ให้กว้างขึ้น แต่ยังหวังว่าจะมีผลในการขับเคลื่อนให้เกิดนโยบาย

         นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) แม้จะมีความเห็นว่างานประชุมวิชาการส่วนใหญ่เป็นเพียงการเอาความรู้มาบอกให้ สาธารณชนทราบและพูดกันมากขึ้น อาจไม่สามารถขับเคลื่อนได้เท่าการประชุมเชิงยุทธศาสตร์ที่มาร่วมกันวางแผน แต่ก็ยังเห็นว่า “ถ้างานประชุมวิชาการ สามารถสร้างหรือ ตกผลึกฉันทามติว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำอย่างไร หรือ มีข้อเสนอที่เฉียบคม มีไอเดียเจ๋งๆ ที่ทำให้ภาคการเมืองต้องรับไปดำเนินการต่อก็จะยิ่งดี”

         ส่วน ดร.สมชัย จิตสุชน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมนำเสนอข้อมูลก็มีความเห็นว่า “เรา มีงานวิจัยชี้ประเด็นให้แนวทางแล้วว่าถ้าจะเดิน จาก A ไป B จะทำได้อย่างไร มีหลายเส้นทางหลายวิธี แต่ส่วนที่ขาดคือ จะทำให้เกิดผลได้จริงอย่างไร เราขาดการวิจัยเชิงสถาบันว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสีย จะต่อรองอย่างไร เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างไร”    

ดัง นั้น ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ทุกคนมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการขับ เคลื่อนความรู้ไปสู่นโยบายที่เพิ่มความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ
มาร่วมกันขบคิดและขับเคลื่อนไปด้วยกันนะครับ...

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้